แอท-ซี พาส่อง สรรพคุณชั้นเลิศจาก "ขมิ้นชัน"

แอท-ซี พาส่อง สรรพคุณชั้นเลิศจาก "ขมิ้นชัน"

 แอท-ซี พาส่อง สรรพคุณชั้นเลิศจาก "ขมิ้นชัน" 

ขมิ้นชัน (Curcumin) คือสมุนไพรจากธรรมชาติที่ใครๆก็รู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะนิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งแบบสดและแบบบด เป็นทั้งยาภายนอกและยาภายใน ไม่ว่าจะเป็น ผงเพื่อผสมในเมนูอาหาร ผสมในเครื่องสำอาง รวมถึงนำมาสกัดใช้แทนยารักษาโรคบางชนิด เนื่องจากขมิ้นชันมีสารสำคัญที่มีสรรพคุณอันเป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายด้าน

มีหลายคนตั้งข้อสงสัยว่าสมุนไพร "ขมิ้นชัน" มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพร่างกายอย่างไร? สามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคที่เป็นอยู่ได้จริงหรือไม่? และร่างกายควรได้รับสารสำคัญจากขมิ้นชันในปริมาณเท่าไหร่จึงจะเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายสูงสุด?

ปัจจุบันได้มีการศึกษาเพื่อพิสูจน์สรรพคุณของสมุนไพรขมิ้น พบว่ามีสรรพคุณมากมาย เช่น ทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง มีฤทธิ์ขับน้ำดีช่วยในการย่อยและป้องกันไม่ให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ขับลม 

แต่เมื่อได้ทานแล้ว ไม่ได้มีประสิทธิผลอย่างที่เราได้ยินกันมาทำให้ต้องกลับมาดูว่า หลายๆคนที่ได้ทานขิม้นชัน ได้ทานตรงเวลาและตามปัญหาที่เกิดหรือเปล่า? เพราะว่าขมิ้นชันนั้นมีประโยชน์และสรรพคุณหลายประการ [ ดังนั้นการทานสมุนไพรขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้ จะทำให้ได้ผลโดยตรงกับอวัยวะส่วนต่างๆ ทำให้สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุด และเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ดียิ่งขึ้น ]

 

 ตารางเวลาการรับประทาน "ขมิ้นชัน" 

03.00 - 05.00 น.

  • ช่วยบำรุงปอด ป้องกันการเป็นมะเร็งปอด ช่วยทำให้ปอดแข็งแรง ช่วยเรื่องภูมิแพ้ของจมูกที่หายใจไม่สะดวก และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง

05.00 - 07.00 น.

  • ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ ถ้าเคยกินยาถ่ายมาเป็นเวลานาน ให้กินขมิ้นชันเวลานี้ ขมิ้นชันจะฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ แต่ต้องกินเป็นประจำ ถึงจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัวเพื่อขับถ่ายอย่างปกติ แก้ปัญหาลำไส้ใหญ่กลืนลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่มีปัญหาถ่ายมากเกินไปหรือถ่ายน้อยเกินไป

    ถ้าลำไส้ใหญ่ไม่มีปัญหา ให้กินขมิ้นชันพร้อมกับสูตรโยเกิร์ต,นมสด,น้ำผึ้ง,มะนาวหรือน้ำอุ่นก็ได้ จะไปช่วยล้างผนังลำไส้ที่มีหนวดเป็นขนเล็กๆ อยู่เป็นล้านๆ เส้น ซึ่งขนเหล่านี้มีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเพื่อไปสร้างเม็ดเลือด

    ขมิ้นชันจะช่วยล้างให้สะอาด ไม่ค่อยมีขยะตกค้าง จึงไม่เกิดแก๊สพิษที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว และจะไม่ค่อยเป็นริดสีดวงทวารและมะเร็งลำไส้

07.00 - 09.00 น.

  • ช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร เกิดจากการกินข้าวไม่เป็นเวลา ท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความจำเสื่อม

09.00 - 11.00 น.

  • ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลที่ปาก อ้วนเกินไป ผอมเกินไปที่เกี่ยวกับม้าม ลดอาการของโรคเก๊าต์ ลดอาการเบาหวาน

11.00 - 13.00 น.

  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ  จะช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ถ้าเลยเวลา 11.00 น.ไปแล้ว ขมิ้นชันจะไปทำงานที่ตับ แล้วตับจะส่งมาที่ปิด ปอดจะส่งไปยังผิวหนัง แต่ส่วนมากมาไม่ถึงเพราะกินขมิ้นชันน้อยเกินไป อวัยวะส่วนอื่นจะดึงไปใช้งานก่อนจึงไปไม่ถึงผิวหนัง ต้องลงขมิ้นชันทางผิวหนังช่วยอีกทางหนึ่ง

15.00 - 17.00 น.

  • ช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้ปัญหาเรื่องตกขาวของสตรี และควรกินน้ำกระชายเวลานี้ด้วยจะช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงื่อออกจะดีมาก เพราะร่างกายต้องการขับสารพิษให้ได้มากที่สุดในเวลานี้

ถ้ารับประทานเลยเวลาจากช่วงนี้ จนไปถึงการกินก่อนนอน ขมิ้นชันจะไปช่วยเรื่องความจำให้ความจำดี ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้าจะไม่ค่อยอ่อนเพลีย และช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น กินขมิ้นชันมากๆ จะช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ผิวหนังไม่เป็นผดผื่นคันง่ายๆ และช่วยขับไขมันในตับ

จากที่กล่าวมาข้างต้น ถึงแม้ว่า "ขมิ้นชัน" จะมีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพร่างกายในหลากหลายด้าน อีกทั้งยังเหมาะกับสังคมปัจจุบัน ที่เต็มไปด้วยมลพิษทั้งในอาหาร อากาศและน้ำ การกินขมิ้นชันเป็นประจำ จะช่วยป้องกันตับไม่ให้ถูกทำลายจากสารพิษ ป้องกันการเป็นมะเร็งในลำไส้ แต่สรรพคุณเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้รับ "เคอร์คูมินของขมิ้นชัน" ในปริมาณสูง และเนื่องจากเคอร์คูมินเป็นสารที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและเนื้อเยื่อได้น้อย เพราะมักจะถูกทำลายได้ง่ายในลำไส้เล็ก และที่สำคัญจะถูกเผาผลาญและกำจัดออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว 

 

สนใจสร้างแบรนด์ส่วนผสมสารสกัดจากขมิ้นชัน ปรึกษาเราได้เลยที่ Aesthetic Zecret (AT-ZE)



อ้างอิง : megawecare,bangkokbiznews

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้